บทท่ี 5

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

         

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีชั้นสูง 2  ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา โดยดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 กับนักเรียน จำนวน 38 คน ซึ่งผู้สอนจะทำการสอนโดยตรง สัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 60 นาที  รวมทั้งสิ้น 8 คาบ  ซึ่งใช้กระบวนการเรียนเป็นกลุ่มตามหลักการสอนแบบสแตด เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยคือ การบันทึกบัญชีและการจัดทำกระดาษทำการ กรณีสำนักงานใหญ่ส่งสินค้าให้สาขาในราคาสูงกว่าทุน สำหรับการเก็บข้อมูลผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16-27 มิถุนายน 2557 และนำข้อมูลมาสรุปผลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

สรุปผลการวิจัย

                จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้      

1. ในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีชั้นสูง 2 ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา ภายหลังจากการสอนแบบสแตด พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับดีมาก 

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีชั้นสูง 2 ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา ระหว่างก่อนและหลังจากการสอนแบบสแตด พบว่า ก่อนการสอนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.15 และเมื่อหลังจากการสอนนักเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนในระดับดีลดลง โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาเป็นระดับดีมาก เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.36

 

การอภิปรายผล

                จากผลการวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีชันสูง 2  ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา จากการสอนแบบสแตด ของนักเรียนระดับชั้น ปวส. ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ มีความรู้ ทางทฤษฎี และมีทักษะในบันทึกบัญชีและจัดทำกระดาษทำการ กรณีสำนักงานใหญ่ส่งสินค้าให้สาขาในราคาสูงกว่าทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากเรียนเป็นกลุ่มโดยใช้เทคนิคการสอนแบบสแตด ตามหลักการกรมวิชาการ        (2549:30-40) ประกอบกับการจัดทำแผนการสอนที่มีความสอดคล้องกับนักเรียน โดยใช้องค์ประกอบในการทำแผนการสอนตามหลักการทำแผนการสอนของ เขียน วันทนียกูล (2552) และผลการวิจัยครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของนพนภา อ๊อกด้วง (2547:92) เรื่องการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบ STAD กับการสอนแบบปกติ ซึ่งพบว่าภายหลังจากการวิจัยนักเรียนมีผลทางการเรียนสูงขึ้นเช่นกัน

 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1.ในการนำเทคนิคการสอนแบบสแตดมาใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยควรนำไปทดลองกับนักเรียน

ในรายวิชาและระดับชั้นอื่นๆด้วย เพื่อจะได้ศึกษาว่า วิธีการสอนแบบสแตดมีความเหมาะสมกับนักศึกษากลุ่มใด

2.ในการนำเทคนิคการสอนแบบสแตดมาใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยควรนำไปทดลองกับนักเรียน

ในเนื้อหาอื่นด้วยในวิชาเดียวกัน เพื่อจะได้ศึกษาว่า วิธีการสอนแบบสแตดสามารถใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้ทุกเนื้อหาหรือไม่

3.การออกแบบทดสอบในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องมีการสร้างแบบทดสอบหลายๆแบบเพื่อวัด

ระดับความรู้ และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ของนักเรียน

4. สำหรับผู้ที่ต้องการนำงานวิจัยไปใช้ ควรศึกษาข้อมูลงานวิจัยอื่นประกอบด้วย เพื่อจะได้

แนวทางในการวิจัยอย่างชัดเจน