หน่วยที่1:มนุษย์กับสังคม

แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม  มนุษย์กับ สังคมวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมไทย  ลักษณะเด่นของสังคมไทย  โครงสร้างของสังคมไทย ชุมชนของสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงของ สังคมไทย  ศาสนาในสังคมไทย ปัญหาของสังคมไทย

แผนการจัดการเรียนรู้มนุษย์กับสังคม

หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ  กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน                      ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

แผนที่  1  มนุษย์กับสังคม                                                                                  ระยะเวลา 4 ชั่วโมง

 


1.   จุดประสงค์การเรียนรู้

      1.1       สรุป (Summary) แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม

      1.2       อธิบาย (Explain) มนุษย์กับสังคม

      1.3       ยกตัวอย่าง (Enumerate) วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมไทย

      1.4       บอก (Describable) ลักษณะเด่นของสังคมไทย

      1.5       อธิบายโครงสร้างของสังคมไทย

      1.6       ศึกษา (Study) ลักษณะชุมชนของสังคมไทย

      1.7       ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

      1.8       ระบุ (Identify) ศาสนาในสังคมไทย

      1.9       สรุปปัญหาของสังคมไทย

      1.10    จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ “มนุษย์กับสังคม”

      1.11    สนทนาเชิงปฏิบัติการ “ลักษณะเด่นของสังคมไทย”

      1.12    อภิปราย (Discuss) “ปัญหาของสังคมไทยมีผลกระทบต่อสังคม จริง หรือ ไม่จริง

      1.8       อธิบายคำศัพท์ได้ 14 คำ

2.   แนวคิดและสาระการเรียนรู้

      2.1       แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม  มนุษย์กับสังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมไทย  ลักษณะเด่นของสังคมไทย 

      2.2       โครงสร้างของสังคมไทย ชุมชนของสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย  ศาสนาในสังคมไทย  ปัญหาของสังคมไทย

3.     กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3.1               อธิบายการวางแผนการเรียน โครงสร้างเนื้อหาบทเรียน กิจกรรม  งาน ภารกิจ  (บทที่ 1-9)

3.2      สรุปบทเรียนส่วนที่เป็นสาระสำคัญ 3.3      สรุปคำศัพท์ ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

3.4                  แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

3.5                  แบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ (ให้ความสำคัญการทำงานเป็นทีม)

วิธีการ :  ให้นักศึกษานับหมายเลข 1, 2 นับ 1 มารวมกันเป็นกลุ่มที่ 1 นับ 2 กลุ่มที่ 2 เลือกผู้จัดการด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ   ประชุมคณะทำงาน แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ

กลุ่มที่ 1 : คัดเลือกคำศัพท์ บทที่  1-9  จำนวน  69 คำ  คำอ่าน-คำอธิบาย จัดบอร์ดโดยใช้หัวข้อว่า  “คุณค่าศิลปวัฒนธรรมไทย”  69  วัน  69 คำ ภาพประกอบคำศัพท์ให้สอดคล้องกับความหมายคำศัพท์แต่ละคำ โดยใช้ตัวการ์ตูน “Mr. Social”  (ออกแบบให้เปลี่ยนชุดได้)  เป็นผู้นำเสนอ

กลุ่มที่ 2 : นำคำศัพท์จากกลุ่มที่ 1 69 คำ ประสานงานกับอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ/ ชาวต่างประเทศ  อ่านออกเสียงคำศัพท์  บันทึกเทป/CD มาเปิดให้นักศึกษาฟังทุกครั้งในชั่วโมงการสอนและอ่านออกเสียงตามอย่างถูกต้อง ใช้เวลาครั้งละ 10 นาที ตลอดภาคเรียน และนำคำศัพท์จัดรายการวิทยุศึกษาของโรงเรียน/วิทยาลัย

เลือกตัวแทนกลุ่มที่  1,  2 :  จำนวน 4  คน  ร่วมกับครูผู้สอนและคณะ  ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการและความปลอดภัยของเอกสาร/ภาพ การจัดบอร์ด   การจัดรายการคำศัพท์เพื่อบูรณาการ ออกแบบเครื่องมือประเมินผลและประเมินผล สรุปจุดแข็ง จุดอ่อน แต่ละกลุ่มงานเป็นผู้บริหารเวลาและ       นำเสนอใช้เวลา  10  นาที ถือเป็นข้อยุติ

นักศึกษาทุกคนเขียนรายงานตนเอง (Self - Report) หน้าที่ความรับผิดชอบ  ภารกิจ  ปัญหา อุปสรรค  วิธีการแก้ปัญหา  ข้อเสนอแนะ  ความยาว 5  บรรทัด  และนำเสนอคนละ  3  นาที

4.  สื่อการสอน

4.1                    แผ่นใสสรุปบทเรียน/ชุดการสอน PowerPoint  6  สไลด์

4.2                    ภาพอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์ ภาพลักษณะสำคัญของมนุษย์ ภาพความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ภาพหน้าที่พื้นฐานของสังคมมนุษย์ ภาพเอกลักษณ์ของสังคมไทย ภาพโครงสร้างของสังคมไทย ภาพความแตกต่างของชุมชนเมืองกับชนบท ภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ภาพศาสนาในสังคมไทย ภาพบทบาทของพุทธศาสนา ภาพประเภทของปัญหาในสังคม

4.3                    หนังสือประกอบการเรียนวิชาศิลปวัฒนธรรมไทย

4.4                    บัตรคำศัพท์ บัตรคำ

4.5                    สไลด์  วิดีโอเทป  VCD CAI

 

5.  การวัดผลและการประเมินผล
5.1      ความสนใจในการเรียนรู้ การค้นคว้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

5.2      การซักถามและการตอบคำถาม

5.3      แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ

5.4      การทำงานเป็นทีม (ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นทีมงาน)

5.5      การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน การประเมินตนเอง

5.6      การเขียนรายงานตนเอง (Self-Report)

5.7      แฟ้มสะสมผลงาน

 

6.  แหล่งการเรียนรู้

6.1       ห้องสมุดวิทยาลัย/โรงเรียน ศูนย์วิทยบริการ ห้องปฏิบัติการศิลปวัฒนธรรมไทย เทคโนโลยีและสารสนเทศ

6.2       ครอบครัวผู้เรียน ครอบครัวบรรพบุรุษ  บุคลากรในท้องถิ่น  ภูมิปัญญาชาวบ้าน สถานประกอบการ  ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ

6.3       สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น นิตยสาร/วารสาร/หนังสือ/Brochure/Catalog/ Supplement/บทความ/รายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมไทย   สารานุกรม 

6.4       ครูผู้สอน, Internet, E-learning, E- books, Website

7.  ผลงาน / ชิ้นงานของนักศึกษา

7.1      การจัดบอร์ด การนำเสนอ การเขียนรายงานตนเอง (Self Report)

7.2      สรุปคำศัพท์  ตอบคำถามเพื่อการทบทวน

 

8. ความสัมพันธ์กับวิชาอื่น/การบูรณาการ (Integrated)*        

      8.1      วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์  วิชาวิถีธรรมวิถีไทย  วิชาการโรงแรม

 

9.  บันทึกผลการจัดการเรียนรู้   (ข้อเสนอแนะ / ปัญหา /อื่นๆ)