บทท่ี 2

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

ในการวิจัยเรื่อง ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระบบบัญชีเดี่ยวและสินค้าของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษาจากการสอนแบบสแตด ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยนำเสนอดังนี้

1. แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบสแตด

2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  

3. ตัวแปรที่ทำการศึกษา

4. การสร้างเครื่องมือและการวัดผล   

 

1.  แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ 

                กรมวิชาการ (2543 : 33- 40) ได้อธิบายลักษณะการสอนแบบสแตด ดังนี้

                1.1 ลักษณะการสอนแบบสแตด

  1. มีการกำหนดเวลาในการเรียนในชั้นเรียน
  2. มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีประมาณ 4-5 คน ที่มีความแตกต่างกัน คือ เก่ง 1 คน เรียนอ่อน 1 คน และเรียนในระดับปานกลาง 3 คน
  3. ใช้เทคนิคการเสริมแรงในการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น ชมเชย ให้รางวัล
  4. การทำงานกลุ่มจะเป็นแบบกลุ่มสัมพันธ์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ มีการโต้ตอบ มีการซักถาม ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

                1.2  กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมศึกษาเนื้อหาที่จะสอนตามเอกสารหลักสูตร

  1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่สอน
  2. วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
  3. จัดทำสื่อการเรียนการสอนและวัดและประเมินผล

3.1      ใบแนะนำความรู้ที่ระบุแหล่งความรู้ต่างๆที่นักเรียนแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อสร้างความรู้

3.2      ใบมอบหมายภาระงานที่ชี้แนะ มอบหมายภาระให้นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่ม ตามรูปแบบการมีกลุ่มสัมพันธ์ การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมเรียนรู้

3.3      แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.4      แบบประเมินผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคม ครอบคลุมการประเมินทักษะพื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคม 3 ด้าน คือ

-                   ด้านทักษะส่วนบุคคล

-                   ด้านทักษะปฏิสัมพันธ์กลุ่ม

-                   ทักษะการมีส่วนร่วมทางสังคม

3.5      แบบประเมินเจตคติต่อการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม

  1. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมตามแผนที่กำหนดไว้ในการจัดการเรียนการสอน
  2. ประเมินผลเครื่องมือที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ผล และพัฒนาหลักปรับปรุงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.3 ผังการจัดการเรียนการสอนแบบสแตด

 

ผู้ปฏิบัติ                                                                                 กิจกรรมดำเนินงาน

ครู                                                           ศึกษาเนื้อหาวิชาจากเอกสารหลักสูตร

 

ครู                                                       กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

 

ครู                                                           กำหนดแบบการสอน สร้างสื่อ

สร้างเครื่องมือประเมินผล

 

นักเรียนและครู                                    ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน

                                                                        แบบมีส่วนร่วมที่กำหนดไว้ในแผน

 

 

ครูและนักเรียน                                    ประเมินผล /วิเคราะห์/ พัฒนาปรับปรุง

                                                                       

               

2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วีระศีกดิ์ ผาลา (2549 : 23 )ได้การศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยการสอนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบปกติ โรงเรียนประชารัฐธรรมนูญ อำเภองาว จังหวัดสำปาง

                จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนของนักเรียนในวิชาสังคมศึกษาโดยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบปกติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ต่างกัน โดยกลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ

                วีนัสนีย์ มณีทิพย์ (2549 : 66) ได้ทำการศึกษาผลการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการนำความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียน ปรากฏว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                นพนภา อ๊อกด้วง (2547 : 92) ได้ทำการศึกษา การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ กับเทคนิคการสอน STAD กับการสอนปกติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับกลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้แบบปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของสถิติที่ระดับ0.05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกับเทคนิคการสอนแบบ STAD สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้แบบปกติ

 

3. ตัวแปรที่ทำการศึกษา

                กู้ด (Good 1973 : 7 อ้าง อรัญญา นามแก้ว 2538 : 49 ) ได้กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ว่า ความรู้ หรือทักษะ อันเกิดจากความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากผลการสอนของครูผู้สอน ซึ่งพิจารณาจากคะแนนสอบที่กำหนด ให้คะแนนที่ได้จากงานที่ครูมอบหมายให้ หรือทั้งสองอย่าง

                ไพศาล หวังพานิช (2536 : 89) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหรือการสอบ จึงเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถของบุคคลว่าเรียนแล้วมีความรู้เท่าใด สามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบต่างๆ เช่น ใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ข้อสอบวัดภาคปฏิบัติ

                จากความหมาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การการเรียนรู้ ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาแล้วว่าเกิดการเรียนรู้เท่าใด มีความสามารถชนิดใด โดยสามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในลักษณะต่างๆ และการวัดตามสภาพจริง เพื่อบอกถึงคุณภาพการศึกษา

 

 

 

 

4.  ชนิดของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    

                ชวาล แพรัตกุล (2516 : 112-115) แบ่งแบบทดสอบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

                1. แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างขึ้นเอง เป็นแบบทดสอบในรายวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือ ภาษา เป็นต้น โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบให้ตอบเสรี และแบบจำกัดคำตอบ  ซึ่งคุณค่าของแบบทดสอบทั้งสองชนิดนี้ อยู่ที่ความสามารถพลิกแพลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเหตุการณ์ได้

                2. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized test ) แบบทดสอบมาตรฐานเป็นตัวอย่างของการกระทำหรือความรู้ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งรับมาภายใต้สภาพการณ์ที่กำหนด การให้คะแนนเป็นไปตามเกณฑ์และการตีความหมายก็จะเป็นไปตามตารางเกณฑ์ปกติ แบบทดสอบมาตรฐานผู้สอนใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายห้องได้อย่างมั่นใจและประหยัดถูกต้องตามหลักวิชามากกว่าการวัดด้วยวิธีการอื่นๆ

                อำนวย เลิศชยันตี (2533 : 88-91) แบ่งแบบทดสอบออกเป็น 18 ชนิด ดังนี้

1. แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ (Mutiple choice) แบบทดสอบชนิดนี้มีลักษณะประกอบด้วยคำถาม 1 คำถาม มีตัวเลือก 4-5 ตัวเลือก

2. แบบทดสอบถูก-ผิด (true – false) แบบทดสอบชนิดนี้จัดว่าเป็น แบบทดสอบเลือกตอบอีกอย่างหนึ่ง แต่มีเพียงถูกหรือผิด

3. แบบทดสอบจับคู่ (matching) เป็นแบบทดสอบที่มีจำนวนตัวเลือกคงที่และภายหลังกาคัดเลือกที่ถูกต้องแล้ว จำนวนตัวเลือกนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ

4. แบบทดสอบให้เขียนตอบ (Free response) แบบทดสอบชนิดนี้มีหลายลักษณะ เช่น ให้เป็นแบบเติมคำ หรือเติมข้อความสั้นๆ หรือเขียนบรรยายแสดงความคิดเห็น

5. แบบทดสอบความเร็วในการคิด (Speed test ) ลักษณะแบบทดสอบความเร็วจะประกอบด้วยคำถามที่ค่อนข้างง่ายๆ แต่มีคำถามจำนวนมากๆ ให้เวลาในการทำข้อสอบน้อยมาก คะแนนที่ได้จะเป็นตัวเลข ที่ชี้ให้เห็นถึงความเร็วในการคิด การทำข้อสอบ

6. แบบทดสอบไม่จำกัดเวลา (Power test ) แบบทดสอบชนิดนี้ ประกอบด้วย ข้อถามที่ค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาในการคิดทำข้อสอบเป็นเวลานาน ดังนั้น จะไม่จำกัดเวลาในการทำข้อสอบ ให้ผู้สอบคิดจนกว่าจะสำเร็จ

7. แบบทดสอบที่วัดความสามารถชั้นสูง (Maximum performance) แบบทดสอบในลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดความสามารถขั้นสูงสุดของผู้เรียน  ผู้เรียนต้องพยายามคิดทำข้อสอบให้ได้คะแนนมากที่สุด คะแนนจะเป็นตัวชี้ถึงความสามารถชั้นสูงสุด เช่น การสอบวัดทางสติปัญญา หรือการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ

8. แบบทดสอบที่วัดคุณลักษณะเฉพาะอย่าง (Typical performance ) แบบทดสอบในลักษณะนี้ มีจุดมุ่งหมายวัดความสามารถบางประการ หรือคุณลักษณะที่ต้องการวัดเพียงบางอย่างเท่านั้น เช่น แบบทดสอบวัดความสนใจในวิชาชีพ หรือแบบวัดบุคลิกภาพ เป็นต้น

9. แบบทดสอบปรนัย (Objective test ) แบบบทดสอบปรนัยเป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการคือ

    ก. คำถามที่ใช้ถามเป็นคำถามที่ชัดเจน ถามตรงจุด อ่านแล้วรู้ว่าถามอะไร

    ข. เกณฑ์การตรวจให้คะแนน ได้กำหนดไว้ชัดเจน ใครตรวจก็ให้คะแนนเท่ากัน

     ค. การแปลผล ทุกคนที่แปรผลยอมแปลได้ตรงกัน

10. แบบทดสอบอัตนัย (Subjective) เน้นที่คนออกข้อสอบเป็นคนตรวจและให้คะแนน การให้คนอื่นตรวจก็ย่อมมีจุดยุ่งยากหลายๆประการ เกี่ยวกับกิเลสในตัวคน

 11. การทดสอบที่ใช้การเขียนตอบ (Paper –pencil test ) การใช้แบบทดสอบในลักษณะนี้ อาจเป็นแบบลักษณะของแบบทดสอบในข้อ ที่ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ดังที่กล่าวมา เรียกว่า แบบทดสอบที่เป็นการทดสอบที่ใช้เขียนตอบ

12. แบบทดสอบที่ไม่ใช้การเขียน (Performance) การทดสอบในลักษณะนี้ ไม่ใช่การเขียนตอบ แต่เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมจากการกระทำโดยตรง เช่น การทดสอบพละศึกษา การทดสอบด้วยการปฎิบัติในรายวิชาช่างต่างๆ

13. การทดสอบที่ใช้นักเรียนเป็นกลุ่ม (Group tests ) การทดสอบที่ใช้ลักษณะนักเรียนทดสอบกลุ่ม ส่วนมากมักใช้ Paper –pencil test เพราะสามารถสอบนักเรียนได้พร้อมๆกันถึงแม้นักเรียนจะมีจำนวนมากก็ตาม

14. แบบทดสอบที่ต้องสอบครั้งละ 1 คน (Individual test ) การทดสอบที่สอบกับนักเรียนเพียง 1 คน มักเป็นการสอบเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องทางด้านการเรียน หรือเป็นการทดสอบความพร้อมทางด้านการเรียน ความพร้อมทางด้านการฟัง ความพร้อมทางด้านการอ่าน และโดยเฉพาะการสอบด้วยการปฏิบัติ ซึ่งต้องดูพฤติกรรม การสอบเป็นกลุ่มไม่สามารถวัดพฤติกรรมของนักเรียนโดยตรงได้

15. แบบทดสอบที่ใช้ภาษา (Language) เน้นที่การใช้ภาษาเป็นการสื่อสารความหมาย เหมาะสำหรับนักเรียนที่สามารถอ่านหนังสือได้เร็ว

16. แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา (Non – Language) แบบทดสอบชุดนี้จะเหมาะสำหรับเด็กเล็ก และเหมาะสำหรับเด็กที่ไม่สามารถสื่อความหมายด้วยการพูดหรือการเขียน

17. แบบทดสอบที่ต้องการเฉพาะการคิด (Process) แบบทดสอบในลักษณะนี้ ผู้สอบไม่สนว่าใครจะคิดได้หรือไม่ได้ แต่มีความสนใจว่าผู้ที่เข้าสอบคิดอย่างไร

18. แบบทดสอบแบบการสร้างจินตนาการ (Projective) ลักษณะแบบทดสอบการสร้างจิตนาการ เป็นการเน้นให้ผู้เข้าสอบแสดงความรู้ ความคิดต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่ตนได้พบเห็น ผู้เข้าสอบจะแสดงอาการตอบสนองออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติต่างๆ ต่อสิ่งเร้า ที่ปรากฏอยู่

                เห็นได้ว่า ชนิดของแบบทดสอบมีหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบปรนัย อัตนัย แบบเลือกตอบ แบบจำกัดเวลา ดังนั้นในการสร้างแบบทดสอบจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับเนื้อและสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เข้าสอบ

 

 5.  การสร้างเครื่องมือและการวัดผล 

     5.1  การเขียนแผนการสอน

5.1.1 ความหมายของแผนการสอน

                         เขียน วันทนี  ตระกูล (2552 ) กล่าวว่า แผนการสอน คือแผนการจัดกิจกรรมการการสอน การใช้สื่อการสอน การวัดผลประเมินผล ให้สอดคล้องกับเนื้อหา และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ในปัจจุบันใช้คำว่า แผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากอธิบายรายวิชา รายปี หรือรายภาค และหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำกำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ 

5.1.2 ความสำคัญของแผนการสอน

                          แผนการสอนเปรียบได้กับพิมพ์เขียวของวิศวกรหรือสถาปนิกที่ใช้เป็นหลักการควบคุมงานก่อสร้าง วิศวกร หรือสถาปนิกจะขาดพิมพ์เขียวไม่ได้ฉันใด ผู้เป็นครูก็จะขาดแผนการสอนไม่ได้ฉันนั้น  ยิ่งผู้ที่ได้จัดทำแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ก็ยิ่งให้ประโยชน์แก่ตนเองมากเพียงนั้น

    5.2 องค์ประกอบของแผนการสอน

           องค์ประกอบของแผนการสอนเกิดขึ้นจากความพยายามตอบคำถามดังต่อไปนี้

                1. สอนอะไร (หน่วย หัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือสาระสำคัญ)

                2. เพื่อจุดประสงค์อะไร (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)

                3. ด้วยสาระอะไร (โครงร่างเนื้อหา)

                4. ใช้กลวิธีใด (กิจกรรมการเรียนการสอน )

                5. ใช้เครื่องมือใด (สื่อการเรียนการสอน)

                6. ทราบได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ (วัดและประเมินผล)

                 เขียน วันทนี ตระกูล (2552  อ้าง ปานรวี ยงยุทธวิชัย และ พระเทพวิสุทธิกวี) ได้อธิบายองค์ประกอบหลักของแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ คือ

 

                1. จุดประสงค์การเรียนรู้ คือสิ่งต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก

                   1.1พุทธิพิสัย (Cognitive) คือจุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางสมอง ความรู้ เนื้อหา ทฤษฎี

                   1.2 ทักษะพิสัย (Skill) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางการปฏิบัติ

                   1.3 จิตพิสัย (Affective ) คือ จุดประสงค์ที่เน้นคุณธรรม และจิตใจ

                2. การเรียนการสอน ( Learning ) คือกระบวนการที่ทำให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

                    2.1 สาระการเรียนรู้

                    2.2 เนื้อหาวิชา

                   2.3 กิจกรรมการเรียนการสอน

                   2.4 สื่อการเรียนการสอน

                3. การวัดและประเมินผล (Evaluation) คือ การตรวจสอบว่าพฤติกรรม หรือลักษณะอันพึงประสงค์ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนมากเพียงใด

องค์ประกอบในการเขียนแผนการสอน

                                1. มาตรฐานรายวิชา

                                2. สาระสำคัญ

                                3. จุดประสงค์การเรียนรู้

                                4. จุดประสงค์ปลายทาง

                                5. จุดประสงค์นำทาง

                                6. เนื้อหาสาระ

                                7. สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน

                                8. ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอน

                                9. กิจกรรมการเรียนการสอน

                                10. การวัดและประเมินผล

                                11. กิจกรรมเสนอแนะ

                                12. บันทึกหลังการเรียนการสอน

                                   - ผลการสอน

                                    - ปัญหาและอุปสรรค์

                                   - แนวทางการแก้ไข

                                   - ข้อเสนอแนะ

                                   - ชื่อผู้สอน

 

5.4  การสร้างแบบทดสอบ

                ธนิตย์ สุวรรณเจริญ (2552  อ้าง นอร์แมน กรอนลันด์ Gronlund, 1982 :18-33) ได้เสนอขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบ 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดจุดประสงค์การทดสอบ

จุดประสงค์การทดสอบเป็นการกำหนดตัวแบบและชนิดของข้อสอบ ในการเรียนการสอน เราอาจทดสอบเพื่อทราบระดับความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อที่จะจัดที่เรียนให้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้องเป็นการสอบก่อนเรียน หรืออาจตรวจความก้าวหน้าในการเรียนการสอนของนักเรียน เพื่อหาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนในการเรียน สอบวินิจฉัย หรือการวัดรวมยอดของการเรียนรู้ เป็นการทดสอบรวม ในการวางแผนการออกข้อสอบจึงจำเป็นต้องกำหนดจุดประสงค์ของการสอนเป็นประการแรก

ขั้นตอนที่ 2 ระบุและกำหนดผลผลิตของการเรียนรู้ที่ตั้งใจเกิดขึ้น

การวัดผลการผลิตของการเรียนรู้สะท้อนให้เห็นจุดประสงค์ของการสอน ดังนั้น จำเป็นต้องระบุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ โดยจำแนกตามแนวคิดของ บูม ได้แก่ ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย) ด้านความรู้สึก (จิตพิสัย) และด้านทักษะปฏิบัติ

ผลผลิตการเรียนการเรียนรู้ที่สอบวัดนั้น ควรจะระบุในรูปของพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ (Observable) หรือโดยทั่วไปก็จะเขียนให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างข้อสอบรายข้อ

คุณภาพของข้อสอบขึ้นอยู่กับความสามรถที่ข้อสอบสามารถสอบวัดตามตารางวิเคราะห์หลักสูตรและสามารถสอบวัดผลผลิตของการเรียนรู้ที่ตั้งใจจะเกิดขึ้น

วิตเตอร์ โนลล์ (Noll, 4965) ได้เสนอขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบไว้ 4 ขั้นตอนดังนี้

1. การวางแผนการในการสร้างแบบทดสอบ (Planning )

กิจกรรมสำคัญในขั้นนี้ ได้แก่ การกำหนดจุดประสงค์การสอบ การเขียนจุดมุ่งหมาย

เชิงพฤติกรรม การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดเวลาที่ใช้ในการสอบ การกำหนดจำนวนข้อสอบ และการเลือกประเภทของข้อสอบ

                2. การสร้างแบบทดสอบ (Constructing)

                    กิจกรรมสำคัญในขั้นนี้ ได้แก่ การทำต้นฉบับร่างของข้อสอบ จำนวนข้อสอบในต้นฉบับร่าง การจัดข้อสอบประเภทเดี่ยวกันให้อยู่ในตอนเดี่ยวกัน คำสั่งของข้อสอบ การกำหนดแบบแผนของข้อสอบ

 

 

                3. การดำเนินการสอบ

                    กิจกรรมสำคัญในขั้นนี้ได้แก่ การกำหนดสถานที่สอบ การแนะนำวิธีการตอบข้อสอบ การเตรียมการเฉลยและวางกฎเกณฑ์การให้คะแนนก่อนที่จะตรวจให้คะแนนจริง

                4. การประเมินผลแบบทดสอบ

กิจกรรมที่สำคัญในขั้นนี้ คือ การตรวจสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การปรับปรุงข้อสอบ

การอภิปรายและอธิบายข้อสอบ

                หากจะแบ่งขั้นตอนของการวางแผนการสร้างข้อสอบให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ก็จะแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของการสอบ

                ขั้นที่ 2 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร

                ขั้นที่ 3 การเลือกแบบของข้อสอบที่เหมาะสม

                ขั้นที่ 4 การเขียนข้อสอบรายข้อ

                ขั้นที่ 5 การจัดทำข้อสอบ

                ขั้นที่ 6 การทำการทดสอบ

                ขั้นที่ 7 การประเมินข้อสอบ

                ขั้นที่ 8 การนำผลการสอบไปใช้